top of page
theclasstutor

"กฎ 20 วินาที" Use Laziness to your Advantage

เราทุกคนต่างมีความขี้เกียจซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติอยู่ในตัว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้เราติดเป็นนิสัยเสีย ก็คือก็ความขี้เกียจเหล่านั้น


สังเกตุได้ว่าในตอนที่เรามีแรงกระตุ้นในตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยากยังไง หากเป็นช่วงที่เราอยากทำ สิ่งเหล่านั้นจะดูง่ายขึ้นเสมอ ในทางกลับกัน ในขณะที่เรารู้สึกเครียด เหนื่อย หรือล้ามาทั้งวัน เรามักจะไม่มีความกระตือรือร้นในการทำสิ่งที่ต้องใช้ความพยายาม นั่นทำให้ในวันที่เราขี้เกียจ เรามักจะทำในสิ่งที่ง่ายหรือสะดวกที่สุด ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม
โดยทั่วไปแล้ว นั่นเป็นพฤติกรรมเริ่มต้นของเรา ในทางเทคโนโลยี ก็เหมือนกับค่าเริ่มต้นของมือถือ ที่เมื่อเราซื้อมือถือใหม่ ก็จะมีค่าเริ่มต้นที่เซ็ทเอาไว้อยู่แล้ว เช่น เสียงเรียกเข้า หรือวอลเปเปอร์ที่ตั้งค่ามาให้เป็นค่าเริ่มต้น ค่าเริ่มต้นเหล่านั้นก็จะไม่เปลี่ยนไปจนกว่าเราจะเป็นคนตั้งค่ามันขึ้นมาใหม่

เทียบได้กับนิสัยของเรา เราทุกคนต่างมีพฤติกรรมที่เป็นหลักปฏิบัติอยู่ เป็นค่าเริ่มต้นที่เราทำกันจนแทบจะเป็นอัตโนมัติ พฤติกรรมเหล่านั้นสามารถเป็นไปได้ทั้งในทางบวก อย่างเช่นการอ่านหนังสือ การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือเป็นไปในทางลบ อย่างการสูบบุหรี่ และการไถหน้าจออยู่บนโซเชี่ยลมีเดียทั้งวัน
แทนที่เราจะยอมรับพฤติกรรมเชิงลบและปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม เราควรปรับนิสัยที่ไม่ได้เป็นประโยชน์กับเรา เปลี่ยนความขี้เกียจในตัวให้เป็นประโยชน์ วันนี้ The Class ได้นำตัวอย่างกฎการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างหนึ่งมาให้น้องๆ รู้จักกันค่ะ


กฎ 20 วินาที

จากหนังสือ "The Happiness Advantage" Shawn Achor ได้เขียนอธิบายการต่อสู้กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองเอาไว้

เป็นการอธิบายถึงความตั้งใจในการทำบางสิ่งว่า หากสิ่งนั้นใช้เวลามากกว่า 20 วินาที ในการเริ่มต้น เวลาเพียงเท่านี้ก็มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นสิ่งยับยั้งความตั้งใจลง และเบนความสนใจไปหาสิ่งที่ใช้ความพยายามน้อยกว่าในการทำ
Shawn ได้ยกตัวอย่างถึงเป้าหมายที่จะฝึกเล่นกีตาร์ให้บ่อยขึ้นของตัวเอง การเก็บกีตาร์ไว้ในตู้เสื้อผ้า กว่าจะเอาออกจากกล่องมาเล่นได้ มันใช้เวลามากกว่าการที่จะนั่งลงหน้าทีวี และใช้เวลาไปกับจอตรงหน้า
ดังนั้นเขาจึงหาวิธีในการแก้ไขปัญหานี้ โดยการเอากีตาร์มาวางตั้งในส่วนของห้องนั่งเล่นที่ทำให้เห็นได้ง่ายขึ้น และไม่จำเป็นต้องไปค้นมาจากกล่องอีก ทำให้สามารถหยิบขึ้นมาฝึกฝนได้ทุกเมื่อ และเขายังได้ใช้วิธีนี้แก้นิสัยจดจ่อกับหน้าจอทีวี โดยแกะถ่านออกจากรีโมททีวี แล้วเอาไปเก็บไว้ในลิ้นชักของอีกห้อง

หลังจากนั้น เมื่อไรที่กลับจากที่ทำงานมาในห้องนั่งเล่น ความเป็นไปได้ของการเล่นกีตาร์ในห้องนั่งเล่นที่มือเอื้อมถึง มันมากกว่าการที่จะต้องลุกขึ้นไปหาถ่านรีโมทจากอีกห้องเพื่อกลับมาเปิดทีวีอีกครั้ง การแทรกแซงเล็กๆ น้อยๆ นี้ทำให้เขาสามารที่จะยับยั้งพฤติกรรมที่เอาแต่จมจ่อกับหน้าจอทีวีของเขาได้
วิธีนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้กับพฤติกรรมหลายๆ อย่าง เช่นการเก็บมือถือไว้อีกห้อง เพื่อตัดความเสี่ยงที่เราจะหยิบมือถือขึ้นมาเช็คโซเชียล หรือการเตรียมพร้อมโน๊ต/หนังสือไว้ในกระเป๋า เพื่อที่จะสามารถหยิบมาอ่านได้ทุกเมื่อ เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อที่จะส่งเสริมนิสัยในการทำกิจกรรมดีๆ ให้บ่อยขึ้นนั่นเองค่ะ

ถือได้ว่าเป็นกฎการปรับพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่น่าลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ หากน้องๆ คนไหนที่ลองใช้วิธีนี้แล้วได้ผล กลับมารีวิวกันบ้างนะคะ ^-^

ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Yorumlar

5 üzerinden 0 yıldız
Henüz hiç puanlama yok

Puanlama ekleyin
bottom of page