สวัสดีครับ วันนี้ทาง Theclasstutor อยากจะมาแชร์เทคนิคการทำข้อสอบยังไงให้ได้คะแนนดีที่สุด ปังที่สุดกันนะครับ ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนเริ่มทำข้อสอบ ระหว่างทำข้อสอบ เทคนิคการเก็บตกข้อที่ยากและทำไม่ได้ต้องทำยังไง เราไปดูกันเลยดีกว่าครับ Let’s go !
1. CHECK
ประการแรก เช็คสภาพแวดล้อมเลยครับ ปรับนาฬิกาเราให้ตรงกับนาฬิกาในห้องสอบ หรือดูว่านาฬิกาในห้องสอบอยู่ไหนหายใจลึกๆทำสมาธิลดอาการpanic คำนวณเวลาparครับ คือเอาจำนวนข้อสอบมาหารกับเวลาสอบ เช่น ข้อสอบ70ข้อ เวลา1.15Hr เวลาparคือ 70/75=ข้อละ56วินาที (จริงๆควรคำนวณมาก่อนเข้าสอบเพราะเรารู้ข้อมูลพวกนี้ก่อนสอบอยู่แล้วในการสอบหลายๆแบบ)
2. SCAN
พอได้รับข้อสอบแล้ว สแกนเลยครับการสแกนคือการนำข้อสอบมาเปิดดูแบบคร่าวๆอ่านแต่ละหน้าแบบเร็วๆ ดูว่ามีเรื่องอะไรออกบ้าง มีคำนวณหรือทฤษฏีเยอะไหม มีข้อไหนโจทย์ยาวๆ ข้อไหนโจทย์สั้นๆ มีรูปภาพหรือกราฟหรือเปล่า จำนวนข้อครบไหม มีหน้าครบตามหน้าปกไหม ใครเตรียมตัวมาดี จังหวะสแกนถ้าเจอโจทย์ที่เราถนัดเยอะๆจะยิ้มเลย อาการpanicจะลดลงทันที ส่วนใครที่เจอว่าโจทย์ยากก็อย่าเพิ่งตกใจไปครับเพราะคนอื่นก็ได้โจทย์ยากเหมือนเรา555 ขั้นตอนนี้ใช้เวลาไม่ควรเกิน 5 นาที
3. Filling form
อันนี้สำคัญสุดก่อนจะลงมือทำสิ่งแรกเลยคือ การกรอกชื่อนามสกุล หมายเลขผู้เข้าสอบ หรือ อะไรที่ต้องกรอก กรอกด้วยปากกาหรือดินสอ ส่วนนี้ควรทำก่อน หลายคนอยากประหยัดเวลา ทำโจทย์ก่อนกรอกทีหลัง บอกเลยครับ ได้ไม่คุ้มเสีย เพราะ ครูเคยเจอนักเรียนร้องให้มาแล้วเพราะลืมกรอกชื่อ ที่ทำไปทั้งหมดคือศูนย์ ไม่ดีครับ กรอกชื่อก่อนเลยคือสิ่งที่สำคัญที่สุด
4. GOGOGO!!!
เริ่มทำข้อสอบได้ หลังจากการสแกนข้อสอบ แล้ว เราจะรู้ว่ามีข้อง่ายๆหรือข้อที่เราถนัดหรือมั่นใจอยากทำ จะข้ามไปทำก่อนได้ครับ หรือจะไล่ตั้งแต่ข้อ1 ไปเลยก็ได้ แต่ตรงนี้ให้เรารู้ไว้ก่อนเลยว่าพออ่านโจทย์แล้วต้องมั่นใจว่าข้อนี้เราจะทำได้เสร็จภายในเวลาparที่เราคำนวณไว้อย่างแน่นอน เพราะ นี่คือการบริหารเวลาครับ เราควรทำข้อง่าย ข้อที่ถูกชัวร์ๆ ใช้เวลาน้อยๆ ก่อนเพื่อให้มีคะแนนชัวร์ในมือ และเราควรทำข้อเหล่านี้ให้เสร็จก่อนเวลาpar เพื่อที่จะได้เก็บเวลาเอาไว้ทำข้อยากๆหรือข้อที่โจทย์ยาวๆที่เราต้องเสียเวลาในการอ่านโจทย์ในตอนหลัง ถ้าเวลาเหลือเราจะได้เปรียบมีเวลาได้ตรวจทานคำตอบอีก
5. Let it go
เมื่อใดก็ตามที่เจอโจทย์ที่ยาก ไม่มั่นใจว่าทำแล้วจะถูกหรือไม่หรือ เป็นข้อที่ต้องคิดวิเคราะห์ แล้วดึงเวลาเราแน่ๆ ให้เราข้ามก่อนครับ อย่ายึดติดและจมปรักอยู่กับข้อที่เราต้องเสียเวลานานแถมไม่ได้ถูก100% มันไม่ได้ช่วยอะไรเราเลย อย่าลืมครับ ข้อยากกับข้อง่ายบางทีคะแนนมันเท่ากัน ถ้าเราติดอยู่นานเกินไปเสียโอกาสหมด เอาเวลาไปทำข้อง่ายๆบางทีได้ไปแล้ว3-5ข้อ
6. 1st round done!
ข้อสอบข้อง่ายเราทำหมดแล้วและรวมถึงข้ามข้อยากและข้อที่ทำเราเสียเวลานานไปหมดแล้วถือว่าจบยกที่หนึ่งครับ ใครทำเวลาได้ดี อาจแอบเอาเวลาตรงนี้ลองนับดูก่อนว่าทำได้แล้วกี่ข้อ บอกเลยว่าใครทำได้เยอะ ได้เกินครึ่ง บางทีถึงตรงนี้แล้วจะโล่งอก เพราะเหลือข้อที่ข้ามมาไม่กี่ข้อ แต่ถ้าใครทำได้น้อยเพราะข้ามมาเยอะ ก็อย่าเพิ่งตกใจ เหมือนเดิมครับเหมือนเดิม คนอื่นก็ทำไม่ได้เหมือนกัน
7. Catch what is left!
ถึงตรงนี้เราจะรู้ว่าเราเหลือข้อที่ยังไม่ได้ทำกี่ข้อ และเวลาที่เรามีเหลืออยู่กี่นาที ประเมินคร่าวๆเอาครับ ว่าเราจะบริหารเวลาที่เหลือยังไง กับข้อที่เหลือที่เราข้ามมา ข้อที่เราข้ามมา จะมีข้อที่ยาว ยาก และอ่านโจทย์ไม่รู้เรื่องครับ ยาวแต่อาจจะไม่ยาก ลองกลับไปดูก่อน ข้อที่มีกราฟ มีตารางมีตัวช่วยกลับไปทำก่อน ข้อที่ต่อให้นานแค่ไหนไม่รู้ ทำไม่ได้ให้ทำทีหลัง ข้อที่ประเมินแล้วว่าไม่ชัวร์ทำทีหลัง ข้อยากๆเหล่านี้อย่าลืมเทคนิดเหล่านี้
- It's not a blind guess
ถ้าเป็นข้อคำนวณมีตารางมีตัวเลข คือมีลุ้นครับ ต้องเอาตัวเลขตารางหรือจับมาเข้าสูตร บวก ลบ คูณ หาร อะไรสักอย่างแน่นอน ลองหาโจทย์ข้ออื่นๆดูครับบางทีโจทย์บางข้ออาจหลงให้สูตรหรือวิธีคิดที่คล้ายกันมาให้เราเอามาใช้ได้ หรืออาจจะมีสูตรอยู่ที่หน้าแรกๆของข้อสอบ กลับไปดูๆๆ ถ้าไม่รู้จิงๆก็มั่วครับ แต่ก่อนจะมั่วควรจะมั่วแบบมีหลักการ ลองเอาเลขที่มีมา บวก ลบ คูณ หาร ดู ถ้ามีคำตอบตรงกับที่เราบวกลบคูณหารอาจมีลุ้น
- Elimination
ซึ่งก็คือ การตัดช้อยส์ หากมีข้อสอบข้อไหนที่เราตัดช้อยส์ได้ ทำก่อนครับ แล้วถ้าข้อสอบไม่มีหักคะแนนข้อผิด ก็คงต้องเลือกจากตัวเลือกที่เหลืออยู่ครับ แต่ถ้ามีหักคะแนนข้อผิด จงเลือกเฉพาะข้อที่เราตัดช้อยส์แล้วเหลือคำตอบ 2-3 ข้อเท่านั้น
- Choice Substitution
สำหรับข้อสอบคำนวณอ่านโจทย์แล้วทำไม่ได้ ให้เอาคำตอบย้อนกลับไปแทนค่าครับ หรือ อาจคิดย้อนแก้สมการจากคำตอบและโจทย์มาเจอตรงกลาง
- Unknown factor
ข้อสอบบางทีอาจเอาเนื้อหาที่ยากกว่าระดับเรามาออกครับ แต่ข้อสอบที่ดีจะมีข้อแบบนี้ไม่เกิน 5% ของข้อทั้งหมด เพื่อเอามาวัดนักเรียนที่สอบหรือให้นรที่เก่งรู้เกินข้อสอบมาแข่งกัน บางทีโจทย์แบบนี้จะเอาช้อยส์ที่เราไม่รู้จักปนมา เช่นมีศัพท์ที่เราไม่เคยเจอมาก่อน มันเป็นจิตวิทยาครับ ถ้าเรามีข้อช้อยส์ที่เราอยากเลือกกับข้อช้อยส์ที่เราไม่รู้ความหมายของมัน โดยปกตินักเรียนที่ไม่มั่นใจในคำตอบส่วนมากจะไปเลือกช้อยส์ที่ไม่รู้ความหมายแทนเพราะมันยากอ่ะ น่าจะใช่ หากเรามั่นใจว่ามีคำตอยที่ถูกกับคำตอบที่เราไม่รู้ จงเลือกคำตอบที่เรามั่นใจครับ
หวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับน้องๆนะครับ น้องๆบางคนอาจรู้เทคนิคเหล่านี้อยู่แล้วหรือใครมีเทคนิคอะไรดีๆอีกก็แนะนำกันเข้ามาครับ อย่าลืมว่า การเตรียมตัวก่อนสอบและฝึกทำข้อสอบเก่ามาก่อนสำคัญที่สุด practice make perfect แต่คนที่เตรียมตัวมาเท่ากันและเก่งเท่ากัน คนที่มีเทคนิคที่ดีกว่าจะเป็นผู้ชนะครับ ขอให้โชคดีในการสอบครับ
Comentários